วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การสร้างกราฟ หรือแผนภูมิประกอบข้อมูล

การสร้างแผนภูมิ หรือ ชาร์ต (Chart) ด้วยโปรแกรมเอ็กเซล เป็นการนำเอาข้อมูลแต่ละแถว
และคอลัมน์บนแผ่นงาน มาสร้างเป็นชุดข้อมูลโดยแต่ละค่าของข้อมูลที่นำมาสร้างเป็นชาร์ต
เรียกว่า จุดข้อมูล (Data Point)แผนภูมิที่สร้างด้วย เอ็กเซลล์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
คือ แบบฝังบนแผ่นงาน เป็นวัตถุในแผ่นงานเดียวกับชุดข้อมูล และ แบบแยกแผ่นงาน
เป็นแผ่นงานเฉพาะซึ่งบรรจุแผนภูมิอย่างเดียว สร้างแผนภูมิแยก โดยผู้สร้างสามารถ
เลือกใช้ได้ทั้งสองแบบ
 1. เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการจะสร้างแผนภูมิ > คลิกที่ปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ
ที่ทูลบาร์มาตรฐาน
หรือ คลิกที่คำสั่ง แทรก > แผนภูมิ ที่แถบเมนูบาร์

2. จะได้ขั้นตอนที่ 1 ได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ชนิดแผนภูมิ >
คลิกเลือกชนิดย่อยของแผนภูมิ > คลิกปุ่ม ถัดไป จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 แหล่งข้อมูลของแผนภูมิ ให้เลือกช่วงของข้อมูลว่าเริ่มตั้งแต่เซลล์ใดและสิ้นสุดที่เซลล์ใด

3.
คลิกที่ปุ่ม
ถัดไป จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ตัวเลือกแผนภูมิ > คลิกที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ > พิมพ์ชื่อแผนภูมิ เป็น
ชื่อแผนภูมิที่เราต้องการ (เช่น สรุปยอดขายรถยนต์ ปี 2550)
และอาจจะกำหนดตัวเลือกอื่น เช่น แกน X แกน Y

4.
คลิกปุ่ม
ถัดไป จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ตำแหน่งแผนภูมิ ที่ตัวเลือกวางแผนภูมิ คลิกเลือก เป็นวัตถุใน หรือเป็นแผ่นงานใหม่ ตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เสร็จสิ้น











ชิ้นงาน
      1. ให้นักเรียนหาค่าเฉลี่ยของรายวิชา แล้วสรุปค่าเฉลี่ยในกล่องข้อความ
      2. ให้นักเรียนนำข้อมูลคะแนนรายวิชามาสร้างแผนภูมิแท่ง   โดยกำหนดให้นักเรียนนำค่าเฉลี่ยของแต่ละวิชามาสร้างแผนภูมิ  โดยกำหนดให้แท่งแผนภูมิมีสีดังต่อไปนี้
      วิชาภาษาไทย                             ใช้สีฟ้า                      
      วิชาคณิตศาสตร์                         ใช้สีม่วง
      วิชาวิทยาศาสตร์                         ใช้สีเขียวอ่อน 
      วิชาสังคมฯ                                   ใช้สีส้ม
      วิชาพลศึกษา สุขศึกษา              ใช้สีน้ำเงิน                  
      วิชาการงานฯ                               ใช้สีชมพู
      วิชาดนตรี นาฎศิลป์    ศิลปะ       ใช้สีแดงเข้ม              
      วิชาภาษาอังกฤษ                         ใช้สีเหลือง
     แล้วให้นักเรียนส่งไฟล์งานที่เมลของครู          



ที่มา http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bk521/002ketsarin/index.html

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วย
นการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ
โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
(programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่น  ความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร   การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง
และมีความรวดเร็ว
เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle)  คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด
    หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing)เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  • แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์  (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ





  • เก็บข้อมูล (Storage)
    เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
    เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต




  • คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
    ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ
    ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
    • ความเร็ว (speed)
      คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
    • ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด
      และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
    • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information)
      ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร
      และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
    • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move
      information)
      โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอรซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
              ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย

    ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น


    โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก
    ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย

    • ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
      ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ
      Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ
      โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์
      รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
    • ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ
      อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ
      เป็นต้น
    ที่มา  http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/intro.htm

    วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

    การคำนวณโดยใช้สูตร (Formular)

                  การใส่สูตรจะต้องระบุเซลล์ที่เราต้องการคำนาณ ไปเพื่อกำหนดขอบเขต
    =  sum(A1:C1)   หมายถึง  การหาผลรวมของเซลล์ A1  ถึง  C1
    =AVERAGE(C6:C11)     หมายถึง  การหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลในเซลล์ C6  -  C11
    =IF(A12>90,"A+",IF(A12>85,"A",IF(A12>80,"B+",IF(A12>75,"B",IF(A12>60,"C",IF(A12>50,"D","E"))))))    หมายถึง  การกำหนดเงื่อนไขในการแสดงผล 
    ชิ้นงานฝึกทักษะ              ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ได้นำสูตรที่ได้แนะนำไว้ไปปรับใช้ในการคำนวนในชิ้นงานคะแนนรายวิชา และให้ส่งไฟล์งานที่เสร็จสมบูรณ์ที่เมลของครู  และให้สรุปผลว่าเกรดที่นักเรียนใช้สูตรคำนวณได้นั้น  มีเกรด  A , B , C  ,  D  ,  E  เกรดละกี่คน โดยเขียนสรุปใส่ในช่องแสดงความคิดเห็น